ข้อมูลพื้นฐานห้องสมุดอำเภอ

ประวัติห้องสมุด

ห้องสมุดประชาชนอำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย มีสถานภาพเป็นสถานศึกษาแห่งหนึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการจัดและให้บริการการศึกษาตามอัธยาศัย และอำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนทุกประเภท ทุกกิจกรรม ทั้งสายสามัญ และสายอาชีพ เดิมห้องสมุดประชาชนอำเภอทุ่งเสลี่ยมไม่มีอาคารเป็นเอกเทศ จึงได้อาศัยใต้ถุนกุฎิวัดบ้านเหมืองนา หมู่ 1 ตำบลทุ่งเสลี่ยม อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย ซึ่งในขณะนั้น พระครูรัตนโชติกุล เป็นเจ้าอาวาสวัด เพื่ออาศัยเป็นที่ทำการชั่วคราว โดยอยู่รวมกับศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอทุ่งเสลี่ยม ต่อมาในปีงบประมาณ 2539 ได้รับงบประมาณจากกรมการศึกษานอกโรงเรียน ในการสร้างอาคารห้องสมุดประชาชนอำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย จึงได้ขอใช้ที่สาธารณประโยชน์เพื่อก่อสร้างอาคารดังกล่าว โดยได้เลขที่บ้าน 347 หมู่ 1 ตำบลทุ่งเสลี่ยม อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย    ในวันที่ 6 มกราคม 2540 ห้องสมุดประชาชนอำเภอทุ่งเสลี่ยม และศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ   ทุ่งเสลี่ยม ได้ย้ายที่ทำการจากใต้ถุนกุฏิวัดบ้านเหมืองนา เข้ามาอยู่ในอาคารห้องสมุดประชาชนอำเภอทุ่งเสลี่ยม เพื่อใช้เป็นที่ทำการห้องสมุดประชาชนอำเภอทุ่งเสลี่ยม และศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอทุ่งเสลี่ยม จนถึงปัจจุบันขนาดที่ตั้งห้องสมุดประชาชนอำเภอทุ่งเสลี่ยม ตั้งอยู่ที่เลขที่ 347 หมู่ 1 ตำบลทุ่งเสลี่ยม อำเภอทุ่งเสลี่ยม    จังหวัดสุโขทัย บนพื้นที่ ไร่ ตาราวา ด้านหน้ามีถนนสวรรคโลก - เถิน อยู่ใกล้กับเทศบาลตำบล       ทุ่งเสลี่ยม หมายเลขโทรศัพท์ / โทรสาร 055 - 659020สภาพทางภูมิศาสตร์
อำเภอทุ่งเสลี่ยม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดสุโขทัย มีพื้นที่ทั้งหมด               ประมาณ 596.932 ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัดสุโขทัยประมาณ 68 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอต่างๆ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอ ศรีสัชนาลัย
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอ ศรีสำโรง และอำเภอบ้านด่านลานหอย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอ สวรรคโลก
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอ เถิน จังหวัดลำปาง
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเหมาะแก้การทำนา ทำสวนผลไม้ ทำสวนผัก ที่เนินเขาเตี้ยๆ เหมาะแก่การทำไร่ และเลี้ยงสัตว์

ทรัพยากรธรรมชาติ

    1. ป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญอยู่ในเขตของป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ท่าแพและป่าแม่มอก แม่ลำพัน เป็นต้นกำเนิดของลำน้ำที่สำคัญ คือ ลำน้ำแม่มอก คลองลาน คลองคะยาง คลองเมืองนา คลองทุ่งเสลี่ม ปัจจุบันมีราษฎรเข้าไปบุกทำลาย จับจองเป็นที่ทำกินเพิ่มขึ้นทำให้สภาพป่าลดน้อยลง

    2. แร่ธาตุ ได้แก่ พลวง มังกานีส ฟลูออไรด์ และหินอ่อนคุณภาพดี

    3. ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ เช่น ขี้ค้างคาว เปลือกไม้ ถ่าน

การคมนาคม
การคมนาคม ระหว่างจังหวัดมีทางหลวงแผ่นดิน สุโขทัย แพร่ โดยแยกเป็นทางหลวง
จังหวัด กิโลเมตรที่ 37 ไปทุ่งเสลี่ยม ระยะทาง 31 กิโลเมตร
ลักษณะภูมิอากาศ
ฤดูร้อน อากาศอบอ้าว บางปีอุณหภูมิสูงสุดวัดได้ 41.8 องศาฤดูหนาว อากาศหนาวเย็น อุณภูมิต่ำสุดวัดได้ 4.6 องศา
ฤดูฝน บางปีฝนตกมาก บางปีฝนตกน้อยลักษณะภูมิอากาศมีอิทธิพลต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของประชากรเป็นอย่างยิ่ง เพราะผลผลิตและรายได้ของประชากรขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ
สภาพเศรษฐกิจ

ประชากรส่วนใหญ่ประมาณ 90 เปอร์เซนต์ มีอาชีพทางการเกษตร ทำนา ทำไร่ ทำสวน และเลี้ยงสัตว์ มีรายได้ค่อนข้างต่ำ มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 1 แห่ง คือ โรงงานหินอ่อน มีธนาคาร 3 แห่ง คือ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงเทพฯ จำกัด และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
การปกครอง
อำเภอทุ่งเสลี่ยม แบ่งการปกครองออกเป็น 5 ตำบล 55 หมู่ บ้าน ดังนี้
1. ตำบลกลางดง มี 15 หมู่บ้าน
2. ตำบลทุ่งเสลี่ยม มี 13 หมู่บ้าน
3. ตำบลไทยชนะศึก มี 11 หมู่บ้าน
4. ตำบลเขาแก้วศรีสมบูรณ์ มี 8 หมู่บ้าน
5. ตำบลบ้านใหม่ไชยมงคล มี 8 หมู่บ้าน
มีหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น 6 หน่วยงาน
    1. เทศบาลตำบลทุ่งเสลี่ยม

    2. องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเสลี่ยม

    3. องค์การบริหารส่วนตำบลกลางดง

    4. องค์การบริหารส่วนตำบลไทยชนะศึก

    5. องค์การบริหารส่วนตำบลเขาแก้วศรีสมบูรณ์

    6. องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ไชยมงคล

การศึกษา , ศาสนา
โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 29 แห่ง
ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอและ
ห้องสมุดประชาชนอำเภอ จำนวน 1 แห่ง
วัดวิสูงคามสีมา จำนวน 13 แห่ง
สำนักสงฆ์ จำนวน 14 แห่ง
ที่พักสงฆ์ จำนวน 14 แห่ง

วัฒนธรรม – ประเพณี
ประเพณีที่สำคัญ ได้แก่ ประเพณีตานก๋วยสลาก ประเพณีสงกรานต์ ศิลปวัฒนธรรม
ได้แก่ รำปราสาทไหว
สถานที่ท่องเที่ยว
    1. วัดทุ่งเสลี่ยม (หลวงพ่อศิลา)

    2. วัดพิพัฒน์มงคล (พระพุทธรูปทองคำ)

    3. วัดใหญ่ชัยมงคล (โบราณสถาน)

    4. อ่างเก็บน้ำห้วยหัวแหวน

การสาธารณสุข
1.โรงพยาบาลชุมชน ขนาด 30 เตียง 1 แห่ง
2.สถานีอนามัย เจ้าหน้าที่ 30 คน 9 แห่ง
3.ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน 45 แห่ง
อาสาสมัครสาธารณสุข 782 คน
การสาธารณูปโภค
1.ไฟฟ้า มีใช้ครบทุกหมู่บ้าน
2.ประปา ประปาส่วนภูมิภาค 1 แห่ง
ประปาหมู่บ้าน 14 แห่ง
3.ไปรษณีย์ ไปรษณีย์อำเภอ 2 แห่ง
ไปรษณีย์อนุญาตเอกชน 1 แห่ง



ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศของอำเภอทุ่งเสลี่ยมส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและภูเขา และภูเขาสูงชันบริเวณที่เป็นภูเขามีอาณาเขตจากด้านทิศตะวันตก ซึ่งติดต่อกับอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ไปจดอำเภอศรี
สัชนาลัย มีลำห้วยที่สำคัญ 7 สาย ได้แก่ ลำห้วยแม่มอก ลำคลองเหมืองนา ลำคลองบ้านคลองสำราญ ลำห้วยแม่ทุเลา ลำคลองคะยาง ลำห้วยไคร้ และลำห้วยแม่ละพัน
ชาวอำเภอทุ่งเสลี่ยม ร้อยละ 90 เปอร์เซ็นต์ มีบรรพบุรุษซึ่งอพยพมาจากอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง เมื่อประมาณ เกือบร้อยปีมาแล้ว ดังนั้น วัฒนธรรม ประเพณี ภาษาพุด จึงเป็นแบบล้านนาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ต่างไปจากอำเภออื่นๆ ของจังหวัดสุโขทัย โดยเฉพาะวัฒนธรรมการละเล่น และวัฒนธรรมการร้องเพลงพื้นบ้าน และมีลักษณะเฉพาะของชาวอำเภอทุ่งเสลี่ยม นอกจากนั้น ประเพณีต่างๆ ก็เป็นลักษณะของชาวไทยเหนือ หรือล้านนาไทยซึ่งคณะผู้รวบรวมหนังสือเล่มนี้ พิจารณาเห็นว่าวัฒนธรรมเหล่านี้เป็นสิ่งมีค่าที่บรรพบุรุษได้สืบต่อกันมา แต่อนุชนรุ่นหลังไม่ได้สืบสานไว้เกรงว่าจะสูญหายไป
ปรัชญา / อุดมการณ์ห้องสมุด

จัดการศึกษาตามอัธยาศัยเต็มรูปแบบ เพื่อประโยชน์สูงสุดของชุมชน
  • เกียรติคุณของผู้รับบริการ

ผู้ที่เข้ามาใช้บริการของห้องสมุดเป็นประจำและมีความถี่มากที่สุด จะได้รับการต่ออายุสมาชิกฟรี จำนวน 1 ปีการศึกษาสภาพปัจจุบัน
  • นโยบายของห้องสมุด
  1. ทำห้องสมุดให้เป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้บริการด้วยด้วยระบบคอมพิวเตอร์
  2. เช่น การยืม – คืน หนังสือ , การสืบค้นข้อมูล
  3. ให้บริการในเชิงรุกเข้าสู่ชุมชน เช่น โครงการแผ่นป้ายความรู้สู่ชุมชน , โครงการห้องสมุด
  4. เคลื่อนที่
  5. จัดให้มีสื่อไว้บริการอย่างพอเพียง และตรงกับความต้องการของชุมชน
  6. ให้ชุมชนเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินงานห้องสมุด
  7. พัฒนาบุคลากรในด้านสารสนเทศ เทคโนโลยีที่ทันสมัย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น